ภาษาไทย

บทความ / รีวิว

บทความ / รีวิว

images/4fcdcdd9-7221-432d-9952-e74d4054eafa.jpg

คอขวด ปัญหาโลกแตก แก้ง่ายๆถ้าเข้าใจอุปกรณ์ !

Posted 28.04.2021 | รอบรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

         คอขวดหนึ่งในปัญหาคำถามยอดฮิตสำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะประกอบคอมพิวเตอร์ใหม่ สเป็ค CPU ตัวนี้กับ GPU ตัวนี้จะมีอาการคอขวดไหม อยากเน้น GPU แรงแต่ CPU รุ่นนี้แบกไหวไหม ทำไงถึงจะแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งจริงๆแล้ว มันไม่ได้น่ากลัวและเข้าใจยากเลย วันนี้  ComputeandMore จะพาไปดูกัน

คอขวดคืออะไร

         เรามาเริ่มต้นด้วยคำนิยมของสิ่งที่เรียกว่า “คอขวด” กัน โดย คอขวดนั้นสามารถนำไปใช้ได้ในหลายๆสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการจราจร กระบวนการผลิต การถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่หมายถึง เกิดการล่าช้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง เช่นถนนลดจาก 8 เลนเหลือ 2 เลน ณ เส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นนั่นเอง เท่าที่กล่าวมาเราพอทราบถึงคำนิยามของคอขวดแล้ว ในที่ของคอมพิวเตอร์นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีคำสั่ง(process)บางตัวที่มาทำให้การทำงานของประสิทธิภาพโดยรวมช้าลง เนื่องจากความไม่สมดุล หรือ ไม่สัมพันธ์ของตัวอุปกรณ์นั่นเอง
          อย่างที่เราทราบกันดีว่า ภายในคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายๆ ชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็น CPU , GPUMainboard , RAM , SSD , HDD ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็จะมีความเร็วในการใช้งานหรือสเป็คแตกต่างกันออกไป ซึ่งปัญหาคอขวดนั้นอาจจะเกิดได้จากหลายๆองค์ประกอบ แต่ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก CPU และ GPU ที่สเป็คค่อนข้างต่างกันและทำงานไม่เข้าคู่กันนั่นเอง

CPU AND GPU

          อย่างที่เราทราบกันดีว่าCPU ทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ และ GPU  ทำหน้าที่ช่วย CPU ประมวลผลในส่วนกราฟฟิคและแสดงผลออกมานั่นเอง กล่าวคือแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่ต่างกันไป โดยปกติแล้วการทำงานของคู่นี้ จะเป็นการทำงานโดยส่งชุดคำสั่งหนึ่งเข้าไปที่ CPU เพื่อให้ CPU ส่งคำสั่งประมวลผลเป็นล้านชุดกลับมาสู่ GPU  เพื่อแปลงรหัสและแสดงภาพขึ้นสู่จอภาพนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า CPU มีความสามารถในการประมวลผลไม่สูงมากนัก แต่ GPU  มีคุณภาพในการทำงานสูง คำตอบก็คือ CPU จะทำงานหนักขึ้นเพื่อทำการส่งข้อมูลให้ GPU ประมวลผลได้ แต่ ด้วยความที่ด้อยประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดการทำงานที่เรียกได้ว่าเต็มพิกัดอยู่ตลอดเวลา แต่ GPU  ไม่ได้มีการใช้งานเท่าไหร่นั่นเอง โดยปัญหาที่มักจะพบก็จะเป็นในช่วงของการเล่นเกมนั่นเอง เช่น การเล่นเกมกราฟฟิคสูงแน่นอนว่าเรามี GPU  ที่มีคุณภาพสูง แต่ CPU ที่ไม่สูงนักก็จะทำให้กระบวนการทำงานภาพต่อเฟรมนั้น ไม่สัมพันธ์กันก็จะเกิดสิ่งที่เราเคยเห็นกันเช่น บ้านดินน้ำมันใน PUBG หรือ ใน FORTNITE หรือ FPS Drop ตกลงมาจากปกติเช่น CSGO เวลาเดินเข้าบริเวณที่มีควันเยอะๆ ทำให้ลดลงไปเหลือ 40-50 fps นั่นเอง


วิธีตรวจสอบการทำงานของทั้ง CPU และ GPU 

          โดยเราสามารถตรวจสอบการทำงานของทั้ง CPU และ GPU ได้ที่โปรแกรม Task Manager ซึ่งสามารถใช้ได้โดยการกด CTRL + SHIFT + ESC หรือ CTRL + ALT + DEL  เมื่อเราเลือกที่หน้า Performance จะมีการแสดงแถบการทำงานของ CPU ขึ้นมาให้เราเห็นนั่นเอง โดยอย่างที่เห็นในภาพ จะมีการแสดงข้อมูลของทั้ง CPU , RAM(Memory) , SSD (or HDD) , Ethernet (Lan or Wifi) และ GPU นั่นเองและทีนี้เราสามารถทรบได้ถึงปัญหาของคอมพิวเตอร์แล้วนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นในภาพมีการใช้งาน CPU ถึง 100 % เต็มหมายถึงมีการใช้งานโปรเซส CPU อย่างเต็มที่แล้วนั่นเอง

วิธีการแก้ไขปัญหาคอขวด

          วิธีการแก้ไขปัญหาของคอขวดนั้นง่ายมาก เพียงแต่อาจจะไม่ถูกใจสายประหยัด หรือ กลุ่มคนที่รายได้ไม่ค่อยสูงมากนัก ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานั้นต้องใช้เงินในการเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพราะ ปัญหาคอขวดเหล่านี้ล้วนเกิดจากฮาร์ดแวร์ หรือ อุปกรณ์ ไม่ใช่ซอฟแวร์ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขตัวของฮาร์ดแวร์นั่นเอง  โดยวิธีแก้ปัญหาของคอขวดนั้นต้องพิจารณาตามส่วนๆไปดังต่อไปนี้

    ซีพียู ( CPU )

           อย่างที่เราได้บอกไปตอนแรกว่าส่วนใหญ่แล้วปัญหาเกิดจากความไม่สัมพันธ์กันของ CPU เป็นหลัก แต่ก็อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้ โดยจะมีปัญหาอื่นๆเช่น
           1. อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนใน CPU ไม่ดีนั้นเอง โดยวิธีแก้ปัญหาของตัวอุปกรณ์นี้ต้องตรวจสอบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากส่วนไหน เช่นอาจจะเกิดจาก Air cooler ที่ระบายความร้อนไม่ดีหรือ เทอร์โมคอมพาวด์แห้ง ไม่เกิดการถ่ายความร้อน หรือ มีฝุ่นสกปรกมาเกาะมากเกินไป จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นั่นเอง
            2. การตั้งการกราฟฟิคให้โหลดรายละเอียดมาก หรือ สเป็คสูงเกินไปแล้ว CPU ไม่สามารถประมวลผลได้ ผลที่ตามมาก็คือ FPS ตกนั่นเอง หรือเกมกระตุกอย่างที่เราได้เห็นๆกันไป วิธีการแก้ปัญหาก็คือการปรับกราฟฟิคให้เหมาะสมการทำงานของ CPU และ GPU ก็ลดลงผลที่ตามมาคือ ความลื่นของคอมพิวเตอร์มีมากขึ้นนั่นเอง
          3. อัพเกรด CPU นี่คือทางออกที่ง่ายที่สุดในการจัดการปัญหาคอขวดนี้ ทำได้โดยการเปลี่ยนให้ CPU ทำงานคู่กับ GPU ได้นั่นเอง แต่ในบางกรณีไม่สามารถเปลี่ยนเพียง CPU อย่างเดียวได้ อาจจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในคอมพิวเตอร์อีกด้วย

กราฟฟิกการ์ด (GPU

       การ์ดจออาจจะน้อยที่เจอปัญหาแต่ใช่ว่าจะไม่มี แต่ส่วนมากที่เกิดขึ้นเกิดจากความร้อนของตัวการ์ดจอระบายความร้อนได้ไม่ดี อาจจะต้องมีการทำความสะอาดฮีทซิงค์หรือตั้งโปรแกรมให้พัดลมให้หมุนไวขึ้นเพื่อระบายความร้อนดีขึ้นนั่นเอง และ นอกเหนือจากนั้นแล้ว การปรับรายละเอียดภาพของเกมหรือเอฟเฟคก็มีผลเช่นกัน โดยอาจจะเป็นในส่วนของรอยหยัก รายละเอียดเล็กน้อย หรือ เอฟเฟ็คเงา แสง และ ความสมจริงนั่นเอง กล่าวคือ ถ้า GPU ไม่ได้แรงมากแต่เราต้องการปรับให้แรงก็จะเกิดการทำงานโอเวอร์โหลดของ GPU นั่นเอง

หน่วยความจำ ( RAM )

       หน่วยความจำ หรือ RAM สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อการเล่นเกมของเราได้เช่นกัน เนื่องจาก แรมก็คือเป็นส่วนที่เอาคำสั่งต่างที่ทำงานมาพักก่อนส่งต่อให้ CPU ทำงานนั่นเอง ดังนั้นถ้ามีพื้นที่ความจำน้อยก็จะทำให้เกิดการเก็บข้อมูลได้น้อย วิธีแก้ง่ายๆมี 2 วิธีคือ 1. ปิดโปรแกรมอื่นๆที่ไม่ค่อยใช้งานออกนั่นเอง 2. อัพเกรดเพิ่มความจุหน่วยความจำ RAM เพิ่มนั่นเอง

HDD or SSD  

           เปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์ หรือติดตั้งเกมบน SSD แน่นอนว่านี้ก็เป็นอีกส่วนขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เช่นกัน อย่างที่เราทราบกันดีว่า HDD นั้นมีข้อดีคือเก็บข้อมูลได้เยอะ แต่อัตราการอ่านข้อมูลค่อนข้างช้า แต่ SSD เก็บข้อมูลได้น้อยแต่อ่านข้อมูลได้ค่อนข้างไว ถ้าเรามีสเป็คคอมพิวเตอร์ที่เร็วเสียดฟ้า แต่ ใช้งาน HDD ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมก็จะเกิดความล่าช้าเกิดขึ้นในขั้นตอนการดึงมาใช้นั่นเอง
นอกจากเรื่อง HDD และ SSD แล้วยังมีอีก 1 ส่วนที่เราต้องทำความเข้าใจคือ SSD PCIe Gen 3 และ SSD PCIe Gen 4 ที่ทั้งสองใช้ Interface คล้ายกัน ตัว SSD PCIe Gen 3  ความเร็วอยู่ที่ 3000-4000 MB/s แต่ SSD PCIe Gen 4 ความเร็วจะสูงเกิน 4000 mb/s ขึ้นไป ซึ่งถามว่า SSD PCIe Gen 4 สามารถใช้งานร่วมกับบอร์ด Gen 3 ได้ไหม คำตอบคือได้ แต่อาจจะไม่แรงและมีประสิทธิภาพคุ้มค่ามากพอเท่านั้นเอง

ตัวอย่างจัดสเป็คแบบคอขวด

     แน่นอนว่านอกจากที่เราพูดไปแล้วอาจจะยังเห็นภาพได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ทางเราจึงนำสเป็คต่างๆมาให้ชมกันว่าจะมีปัญหากันที่จุดใดหนึ่ง

       - สเป็คแรกนั้นถูกจัดขึ้นอย่างสมดุล โดย I5 10600 + RTX 3070 ทำงานคู่กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

       - สเป็คที่ 2 คือสังเกตุว่า สเป็คนั้นจะมี GPU ที่คุณภาพค่อนข้างสูงแต่ใช้งาน CPU ที่มีความเร็วไม่สูงมากนักและมี Core / thread น้อยทำให้งานไปกระจุกกันที่ CPU นั่นเอง ในส่วน 
       - สเป็คที่ 3 นั้นถ้าพูดตามตรงแล้วมีสเป็คที่ค่อนข้างจะสมดุล แต่ จะมีปัญหาเมื่อมีการเล่นเกมที่มีรายละเอียดที่ค่อนข้างสูงหรือละเอียดมาก ตัว GPU บนการ์ดจอนั้นสามารถประมวลผลช่วย CPU ได้เพียงระดับนึง ทำให้เล่นเกมแบบประสิทธิภาพสูงรายละเอียดเยอะๆไม่ได้นั่นเอง
      - สเป็คที่ 4 สเป็คนี้มีข้อด้อยที่ จำนวนความจำของ RAM นั่นเอง ด้วยพื้นที่เพียง 8 GB จึงทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพการเปิด TAB บน Browser อย่าง google chrome หลายๆแท็บ และ ใช้งานโปรแกรมก็ทำให้คอมพิวเตอร์ล่าช้าได้แล้ว
        - สเป็คที่ 5 นี่เรียกว่าเป็นสเป็คที่มีเกือบครบทุกอย่างขาดเพียง SSD ที่ช่วยเรียกข้อมูลในการทำงานและรันโปรแกรมต่างๆได้ไวยิ่งขึ้นนั่นเอง
       - สเป็คที่ 6  เกิดจากการคำนวณไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจาก PSU ผิดพลาด ย่อมอาจจะทำให้เกิดความเสียหายตามมาแก่อุปกรณ์อื่นๆภายใน PC ได้ ดังนั้นนี่ก็เป็นส่วนนึงที่เราควรให้ความใส่ใจเช่นเดียวกัน
       - สเป็คที่ 7  สเป็คสุดท้ายแม้ว่าหลายๆส่วนอาจจะดูสมดุลกันแล้ว แต่ตัวระบบยังขาดหนึ่งส่วนที่สำคัญนั่นคือส่วนของการระบายความร้อนนั่นเอง ถ้าเรามีระบบระบายความร้อนที่ดีหมายถึง การถนอมเวลารักษา CPU ของเราให้ใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด 

           แน่นอนว่าแม้เราจะทราบกันไปแล้วว่าปัญหาของคอขวดคืออะไรถ้าเราจัดสเป็คให้สมดุลกันแต่ถ้าเราไม่ใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น PSU ที่จ่ายไฟไม่พอ หรือ การระบายความร้อนไม่ดีพอ ความเร็วในการโอนย้ายข้อมูลน้อย หรือแม้แต่ ซิลิโคน (Thermal Compound) นั้นไม่มีคุณภาพมากพอก็ส่งผลกระทบได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนอกจากเราจะใส่ในสเป็คแล้ว เราควรใส่ใจในเรื่องความร้อนอีกด้วยเพราะบางครั้งหาก CPU / GPU ร้อนก็ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่เราสามารถใช้ชุดระบายความร้อนที่ดีขึ้น หรือใช้ซีลีโคน ระบายความร้อนดีๆก็ช่วยได้ในงบหลักร้อย


สรุป

           อย่างที่เราได้กล่าวไปโดยสรุปแล้ว ปัญหาคอขวดส่วนมากมักเกิดจากการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของมันนั่นเอง ดังนั้นการจัดส่วนประกอบต่างๆให้เกิดบาลานซ์ซึ่งกันและกันนั่นเอง เช่นถ้าเราจัด CPU i3 Gen 10th แล้วเราไปเลือกใช้ GPU RTX 3090 นั่นก็ส่งผลให้เกิดคอขวดนั่นเอง อันเนื่องจากการจัดสเป็คที่ไม่ได้บาลานซ์กันเป็นต้น ดังนั้นถ้าจะเลือกจัดสเป็คหรือเลือกอัพเกรดอุปกรณ์ให้ดูถึงความสัมพันธ์และความเหมาะสมของอุปกรณ์อีกด้วย หรือถ้ามีคำถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ComputeAndMore เพราะที่นี่คืออีกระดับของคุณภาพ