ภาษาไทย

บทความ / รีวิว

บทความ / รีวิว

images/2e94c5f8-721f-47cb-911d-c22c7df7fd11.jpg

ดับร้อนด้วย Thermal Paste อาวุธลับของคนรักคอมพิวเตอร์

Posted 22.05.2020 | รอบรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

         หลายๆคนที่ประกอบคอมอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่า Thermal Paste แต่ถ้าเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “ซิลิโคน” ก็อาจจะทำให้ร้องอ๋อ กันออกมาบ้าง โดยเจ้าซิลิโคนเป็นส่วนที่คนประกอบคอมพิวเตอร์หลายๆคนไม่ค่อยให้ความสนใจเท่ากับอุปกรณ์ภายในตัวอื่นๆ ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ถูกต้อง เพราะว่าต่อให้คุณเลือกสเป็คได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าระบบระบายความร้อนของ CPU ก็อาจจะส่งผลไปถึงภาพรวม Performance ของทั้งระบบ และความทนทานของ CPU อีกด้วย แล้ว Thermal Paste มันมีอะไรบ้าง จำเป็นหรือไม่ วันนี้ ComputeAndMore จะพาไปดูกัน

Thermal paste คือ ?

         Thermal paste หรือที่คนเรียกกันว่าซิลิโคน มีหน้าที่เป็นตัวกลางในเชื่อมระหว่างฮีตซิงค์กับตัว Processor นั่นเอง โดยตัวของ ซิลิโคนนั้นมีลักษณะเป็นโลหะเหลว จึงทำให้ประสิทธิภาพที่ดีมากในการถ่ายเทความร้อนและเชื่อมพื้นผิวโลหะเข้าหากันนั่นเอง 
ทำไมต้องใช้ Thermal Paste 
         หากเกิดช่องว่างระหว่าซีพียูและฮีทซิงค์ซีพียู ก็จะทำให้ Heatsink นั้นใช้งานตามปกติ แต่ไม่มีการถ่ายเทความร้อนจาก CPU ออกมาซึ่งก็จะส่งผลถึงประสิทธิภาพโดยรวมของ CPU นั้นจะไม่ดีเท่าที่ควรและแย่สุดก็อาจจะถึงขั้นอุปกรณ์เสียหายเลยก็ว่าได้ แล้วยิ่งปัจจุบัน CPU เริ่มพัฒนาทำให้ตัว Core นั้นเล็กลงก็ยิ่งทำให้มีความร้อนต่อหน่วยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น Thermal Paste   และ heatsink จึงสำคัญมากสำหรับคอมพิวเตอร์นั่นเอง

ประเภทของ Thermal paste

         จริงๆแล้ว Thermal Paste  นั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะผสมสารในการนำความร้อนแตกต่างกันไป โดยคุณภาพของตัว Thermal Paste นั้นแบ่งได้ตามวัสดุที่ประกอบในตัวของ Thermal Paste นั่นเองโดยเราสามารถดูว่า Thermal Paste ชนิดไหนดี หรือ ไม่ดีได้จากค่า Specification ด้านหลังจะมีบอก W/mK ไว้ถ้ามีค่าสูงแสดงว่านำความร้อนได้ดีนั่นเอง  โดยประเภทของ Thermal Paste แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
        

         1. โลหะเป็นส่วนประกอบหลัก ( Metal Based )

         โดยซิลิโคนชนิดนี้จะประกอบไปด้วยโลหะเหลวที่มีคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดี เช่น ทองแดง, เงิน, แกลเลียม เป็นต้นนั่นเอง โดยสารชนิดนี้จะนำความร้อนได้ดีมาก แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือ สารประกอบชนิดนี้นั้น ยังมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นถ้าเกิดทำมันหยดลงเมนบอร์ดที่มีกระแสไฟฟ้าวิ่งบนวงจรตลอดเวลาอยู่แล้วด้วยหละก็เกิดเรื่องแน่นอน ดังนั้นต้องระวังกันด้วยนะครับ

         2. เซรามิกเป็นส่วนประกอบหลัก

         เป็นซิลิโคนอีกชนิดหนึ่งที่นำความร้อนได้ค่อนข้างดี แต่ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้กับประเภทโลหะนั่นเอง แต่จะมีข้อดีคือไม่นำไฟฟ้านั่นเอง

          3. ซิลิคอนเป็นส่วนประกอบหลัก

          เป็น ซิลิโคนอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมกันแล้วถ้าเราซื้อแบบเป็นหลอด เนื่องจากนำความร้อนได้แย่ที่สุดแล้วในทุกๆประเภทที่พูดมา แต่ก็อาจจะยังมีใช้อยู่บ้างในรูปแบบของ Thermal pad บน  Heatsink แถมบนซีพียูมานั่นเอง แต่ข้อดีของ Thermal pad นั้นก็คือสามารถใช้ซ้ำได้เพราะตัว PAD นั้นมันจะไม่ละลายเหมาะสำหรับการนำไป OverClock หลายๆตัวนั่นเอง

วิธีการใช้งาน Thermal paste

         เรียกได้ว่าเป็นอีก 1 ข้อถกเถียงกันมาช้านานมากว่า การหยอดเจ้าซิลิโคนเนี่ย ควรจะทำยังไงถึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าเราใช้ Thermal Paste ที่มีความเข้มข้นเท่ากัน  น้ำหนักของฮีทซิงค์เท่ากัน และ ความสามารถในการนำความร้อนของ Thermal Paste นั้นมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน 
         โดยหลักการการทาซิลิโคนมีอยู่ว่าต้องพยามทำให้เนื้อของ ฮีทซิงค์และซีพียูนั้น สมานจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันให้ได้มากที่สุดและไม่มีฟองอากาศในนั้น ดังนั้นเราจึงต้องทาเจ้าซิลิโคนเนี่ยให้มีขนาดบางมากที่สุดและไร้ฟองอากาศในตัวเนื้อนี้นั่นเอง จึงเกิดข้อถกเถียงมากมายว่าจะทำแบบไหนถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแบบ ปาดให้เรียบทางเดียวกันเอย หยอดให้เท่าเม็ดถั่วเอย หรือ ทำเป็นกากบาท และเป็นเส้นขนาน เรียกได้ว่าสุดแล้วแต่ละคนจะหาสูตรมาทำและเชื่อกัน 
         แต่หลังจากที่เว็บไซต์ Tom’s hardware ได้ทำการทดลองหยด Thermal paste ตรงกลางกระดองซีพียู ขนาดสัก 2-4 มิลลิเมตร จะช่วยให้เจ้า Thermal paste กระจายได้มากพอ และระบายความร้อนได้ดีที่สุด (เพราะส่วนใหญ่ แล้วบริเวณกึ่งกลางของ CPU นั้นจะเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ที่เราเรียกกันว่า DIE นั่นเอง จึงจำเป็นให้บริเวณนี้ต้องมีการถ่ายเทความร้อนให้ได้มากที่สุด

สามารถสังเกตุวิธีหยอดซิลิโคนได้จาก คลิปด้านล่างนี้  

Thanks to : Tek Syndicate

ข้อควรระวังในการใช้งาน

         เพราะด้วยมันเป็นโลหะเหลว ดังนั้นในการใช้งานก็จะต้องมีความระมัดระวังในการทา ไม่ว่าจะเป็นจากทั้งบนกระดองซีพียู หรือผ่าเข้าไปทาที่ตัว DIE เพราะใต้กระดองซีพียูบางโมเดลจะมีตัวเก็บประจุเล็ก ๆ หรือตัวต้านทานเล็ก ๆ ติดตั้งอยู่ หากมันเลอะเปรอะเปื้อน ไปโดนก็จะสร้างความเสียหายใก้กับตัวซีพียู หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ใช้งานร่วมกับการ์ดจอ เพราะรอบ ๆ DIE หรือคอร์ของตัวชิปนั้นจะเต็มไปด้วยตัวเก็บประจุและตัวต้านทานเล็ก ๆ มากมาย
         อีกทั้งควรระวังและวางให้ห่างจากเด็กเล็กด้วยเพราะ ตัวของซิลิโคนไม่ได้มีปัญหาต่อภายนอก แต่จะมีปัญหามากถ้ากินหรือกลืน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองได้ซึ่ง ถ้ามีการสัมผัสผิวหนัง เข้าตา หรือ กลืนกินเข้าไป ต้องทำดังต่อไปนี้
         - ถ้าสัมผัสโดนผิวหนัง : ให้ล้างออกด้วยด้วยน้ำสบู่ ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
         - ถ้าสัมผัสเข้าตา : ให้ลืมตาในน้ำสะอาด เหมือนกับเวลาที่มีฝุ่นผงเข้าตาทั่ว ๆ ไป
         - ถ้ากลืนกินเข้าไป : ให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ และควรไปปรึกษาแพทย์

 

สาระน่ารู้

         เนื่องจากบทความนี้พูดมาเยอะแล้วว่า Thermal paste นั้นใช้งานระบายความร้อนบนซีพียู แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วยังสามารถใช้งานระบายความร้อนบนชิพของการ์ดจอได้อีกด้วย เนื่องจาก ตัวของการ์ดจอนั้นใช้หลักการเดียวกับ CPU ในการระบายความร้อน ผ่านฟิน ผ่านฮีทไปป์และมีหน้าสัมผัสเหมือนกัน ดังนั้น Thermal Paste จึงใช้ร่วมกันกับ CPU ได้นั่นเอง

  

ป้ายยา

         จากที่ได้อ่านมาแล้วคงรับรู้ข้อมูลกันแล้ว แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำจริงๆ ก็ขอเลือกเป็น Arctic MX-4 เลยดีกว่า ซึ่งแบรนด์ Arctic นั้นเป็นแบรนด์ที่คุ้นหูคุ้นตากันและมีคุณภาพมากๆในเรื่องระบบระบายความร้อนอ ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์อย่าง Air cooler อย่าง Arctic Freezer 34 Esport Duo นั่นเอง มาพูดถึงตัวคุณสมบัติของเจ้า Arctic MX-4 ตัวนี้เป็น Thermal Paste ที่มีความเข้มข้นของตัวเจลสูงถึง 2.50 g/cm3 และ มี Thermal Conductivity สูงถึง 8.5 W/Mk นั่นก็หมายความว่า ส่วนประกอบของ Arctic MX-4 นั้นเป็นโลหะนั่นเอง 

สรุปสุดท้าย

         หลังจากได้รู้แล้วว่า Thermal Paste นั้นสำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์ของเราขนาดไหน ก็อย่าได้มองข้ามจุดเล็กๆนี้ไปเชียวนะครับ เพราะมันอาจจะส่งผลกระทบถึงคอมพิวเตอร์ของเราอย่างใหญ่หลวงได้ในภายภาคหน้านั่นเอง ดังนั้นแล้วถ้ามีข้อสงสัยตรงหรืออยากรู้ส่วนไหนเพิ่มเติมก็ลองเข้ามาสอบถามได้ที่ ComputeAndMore เพราะที่นี่คืออีกระดับของคุณภาพ