ภาษาไทย
Campaign

GRAPHIC CARD (การ์ดจอ) คอมพิวเตอร์ AMD / NVIDIA, GRAPHIC CARD (การ์ดจอ) NVIDIA GIGABYTE QUADRO- คอมพิวเตอร์

ไม่พบสินค้า
ขออภัยในความไม่สะดวก ไม่พบสินค้าที่คุณค้นหา

Graphic Card (การ์ดจอ) คืออะไร?

การ์ดจอ (Graphic Card) มีลักษณะเป็นแผงวงจรแบบหนึ่ง ภายในประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายชิ้น โดยส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลด้านภาพ เช่น ซิปประมวลผลกราฟิก (GPU) อินเทอร์เฟซ (Interface) หน่วยความจำบนตัวการ์ด (VIRAM) ตัวแปลงสัญญาณสู่จอภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การ์ดจอยังมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น การ์ดแสดงผล กราฟิกการ์ด ฯลฯ 

การ์ดจอคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ โดยหลักการทำงานเบื้องต้นเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งที่ได้จากซีพียูมาประมวลผลให้เรียบร้อย หลังจากนั้นการ์ดจอจะนำข้อมูลที่ประมวลผลได้ ส่งไปยังจอคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงภาพออกมานั่นเอง

การ์ดจอคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนเมนบอร์ดขนาดเล็กที่ทำงานด้านการประมวลผลกราฟิกโดยเฉพาะ นับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องการใช้งานและให้ความสำคัญกับภาพเป็นอย่างมาก ทั้งการดูหนัง ทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ เล่นเกม หรือแม้กระทั่งการขุดหาเหรียญในเครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซี ถ้าหากได้การ์ดจอที่มีคุณภาพและเหมาะกับลักษณะการใช้งานแล้ว ย่อมทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

แบรนด์ผู้ผลิต Graphic Card (การ์ดจอ)

ในปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตการ์ดจอคอมพิวเตอร์ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดหลายแห่ง แต่ผู้ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตอุปกรณ์ชิ้นนี้มี 2 บริษัท ได้แก่ NVIDIA และ AMD

1. NVIDIA (อินวิเดีย)

NVIDIA เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตการ์ดจอมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 โดยมีผลิตภัณฑ์หลายรุ่นที่มีคุณภาพและเหมาะกับการใช้งานในลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น GeForce, Quadro, Tegra หรือ Nvidia Tesla เป็นต้น

อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่โด่งดังและเป็นที่ยอมรับในวงการนี้หลายตัว หนึ่งในนั้นคือ RAY TRACING ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับการ์ดจอที่มีคุณสมบัติในการสร้างภาพเสมือน โดยการประมวลผลกราฟิกของระบบ AI ให้ออกมาดูสมจริงมากที่สุด และด้วยประสิทธิภาพที่ดีนี้ส่งผลให้ NVIDIA ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ใช้มาอย่างต่อเนื่อง

2. AMD (เอเอ็มดี)

AMD เป็นอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นับเป็นบริษัทที่เป็นคู่แข่งกับ NVIDIA มาตลอด แม้ในช่วงแรก AMD จะมีชื่อเสียงในด้านการผลิตไมโครโพรเซสเซอร์หรือซีพียู แต่ในช่วงหลังบริษัทเริ่มพัฒนาและผลิตซิปประมวลกราฟิก จนออกมาเป็นการ์ดจอที่มีคุณภาพในหลาย ๆ รุ่น เช่น Firepro, Vega, Radeon และ Radeon RX เป็นต้น

โดยจุดเด่นของ AMD คือเป็นการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในทุกรูปแบบ ทั้งการทำงานกราฟิกหรือการเล่นเกม และข้อสำคัญที่ทำให้ AMD เป็นที่นิยมนั่นคือมีราคาประหยัด คุ้มค่ากับประสิทธิภาพนั่นเอง

 

แบรนด์ผู้จัดจำหน่าย Graphic Card (การ์ดจอ)

นอกจาก NVIDIA และ AMD ที่เป็นแบรนด์ผู้ผลิตการ์ดจอแล้ว ในตลาดปัจจุบันยังมีแบรนด์ผู้จัดจำหน่ายเจ้าดังที่ได้รับความไว้ใจจากผู้ซื้อเป็นอย่างมาก อย่าง ASUS, GALAX, EVGA และ LEADTEK

1. ASUS

แบรนด์ผู้จัดจำหน่ายการ์ดจอเจ้าดังเป็นที่รู้จักกันในวงการคอมประกอบ คงหนีไม่พ้นแบรนด์ ASUS ที่จำหน่ายการ์ดจอที่เน้นการใช้เล่นเกมโดยเฉพาะ เป็นที่ถูกใจของเหล่าเกมเมอร์ เพราะสามารถประมวลผลกราฟิกที่มีความละเอียดสูงได้ดีมาก

2. GALAX

GALAX เป็นหนึ่งในบริษัทที่จัดจำหน่ายการ์ดจอหลากหลายราคา ตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงเกือบแสน ด้วยราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว ทำให้เกมเมอร์ทั้งหลายเลือกซื้อแบรนด์นี้ เพราะเป็นการ์ดจอที่เหมาะกับการเล่มเกมนั่นเอง

3. EVGA

อีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับความนิยมคือ EVGA ผู้จัดจำหน่ายการ์ดจอที่คุณภาพ โดยจะเน้นการใช้งานเหมือนกับ 2 เจ้าแรกนั่นคือ เน้นใช้สำหรับการเล่นเกมนั่นเอง เป็นอีกแบรนด์ที่เหล่าเกมเมอร์ห้ามพลาด

4. LEADTEK

การ์ดจอที่จัดจำหน่ายโดย LEADTEK หรือ Leadtek Research, Inc. บริษัทจากไต้หวันที่เน้นการใช้งานด้านอนิเมชั่นเป็นหลัก เหมาะกับคนที่ต้องการใช้สำหรับการดีไซน์ การตัดต่อ อย่างเช่น การ์ดจอรุ่น Quadro เป็นต้น 

 

เป็นแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าใหญ่ๆ แต่เวลาคนซื้อจะค้นตามแบรนด์ที่จำหน่าย โดยแบรนด์ผู้จำหน่าย ได้แก่  ASUS GALAX EVGA (การ์ดจอที่เน้นเกมส์) และ LEADTEK (การ์ดจอที่เน้นงานอนิเมชั่น)

 

ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อ Graphic Card (การ์ดจอ)

การเลือกซื้อการ์ดจอสำหรับคอมประกอบที่มีการใช้งานในแบบเฉพาะตัว จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลหลายส่วน เพื่อให้นำมาพิจารณาและตัดสินใจเลือกซื้อได้ตรงกับความต้องการ โดยที่องค์ประกอบสำคัญ ๆ ที่ควรรู้มีด้วยกัน 5 อย่าง ดังนี้ 

1. รุ่นของการ์ดจอและการใช้งาน

การ์ดจอคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ลักษณะคือแบบที่ติดมากับซีพียูและแบบที่ต้องซื้อแยก แต่หากแบ่งตามลักษณะการใช้งาน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.1 การ์ดจอทั่วไป

การ์ดจอหรือการ์ดจอออนบอร์ด (On-Board VGA) เป็นอุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่จะติดมากับซีพียูเลย สามารถใช้งานได้ในระดับปกติ มีสเปคไม่สูง เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบทั่ว ๆ ไป ได้ทั้งการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมธรรมดา ทำงานพื้นฐาน หรืองานที่ไม่ต้องใช้กราฟิกระดับสูง 

รุ่นที่ได้รับความนิยม เช่น รุ่น GT ของ NVIDIA หรือรุ่น HD ของ AMD

1.2 การ์ดจอสำหรับการทำงาน

ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องซื้อแยก สามารถใช้สำหรับการทำงานกราฟิก วาดภาพสเกล การตัดต่อ หรือเรนเดอร์กราฟิกอื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เน้นการใช้ทำงานเป็นหลัก แต่หากต้องการใช้เล่นเกมก็สามารถใช้ได้ เพียงแค่ประสิทธิภาพจะไม่เท่ารุ่นที่ใช้เล่นเกมโดยเฉพาะนั่นเอง 

รุ่นที่ได้รับความนิยม เช่น รุ่น Quadro และ Tesla ของ NVIDIA หรือรุ่น Firepro และ Vega ของ AMD

1.3 การ์ดจอสำหรับเล่นเกม

ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องซื้อแยกเช่นกัน สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เล่นเกม และคอมพิวเตอร์ที่มีค่า Frame Per Second สูง มีความละเอียดของภาพสูง ซึ่งทำให้การประมวลผลกราฟิกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้โดยการ์ดจอประเภทนี้ก็จะมีราคาที่สูงและกินไฟมากด้วย 

รุ่นที่ได้รับความนิยม เช่น รุ่น GTX และ Geforce RTX ของ NVIDIA หรือรุ่น Radeon และ Radeon RX ของ AMD

 

2. มอนิเตอร์และความละเอียดหน้าจอ

การ์ดจอเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมต่อกับมอนิเตอร์ ดังนั้นในการเลือกซื้อจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบจากมอนิเตอร์ด้วย เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งสองชิ้น สามารถส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งกันและกัน โดยพิจารณาจาก 2 อย่าง ดังนี้

2.1 ความละเอียด (Resolution)

การเลือกซื้อการ์ดจอควรพิจารณาความละเอียด (Resolution) ของจอมอนิเตอร์ด้วย เพื่อให้ทั้งสองทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หากเลือกการ์ดจอที่มีค่าความละเอียดน้อยกว่าจอมอนิเตอร์ อาจส่งผลให้อุปกรณ์ทำงานหนักเกินไปจนคอมพิวเตอร์แฮงก์หรือค้างได้ แต่หากเลือกการ์ดจอที่มีความละเอียดมากกว่าจอมอนิเตอร์ ก็จะไม่คุ้มค่า เพราะอุปกรณ์ไม่ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและเสียเงินมากเกินความจำเป็นนั่นเอง 

2.2 อัตรารีเฟรช (Refresh Rate)

การเลือกซื้อการ์ดจอควรพิจารณาจากอัตรารีเฟรชของจอมอนิเตอร์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากค่านี้เกี่ยวข้องกับ FPS (Frame Per Second) ที่มาจากการ์ดจอ หากทั้งสองค่ามีตัวเลขที่สูงและสัมพันธ์กัน จะส่งผลให้จอแสดงภาพออกมาได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด โดยอัตรารีเฟรชคือจำนวนครั้งที่ภาพถูกฉายบนหน้าจอภายใน 1 วินาที ส่วน FPS คือค่าการแสดงผลภาพภายใน 1 วินาทีนั่นเอง

3. หน่วยความจำ (Memory)

ภายในการ์ดจอมีหน่วยความจำซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ไปยังซีพียู เพื่อประมวลผลออกมา โดยในบางรุ่นสามารถประมวลผลบางชุดคำสั่งแทนซีพียู ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณา Bandwidth และ Bus Width ด้วย เนื่องจากทั้งสองตัวเป็นค่าที่แสดงให้รู้ว่าการ์ดจอมีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากเท่าไหร่ เพราะยิ่งมีค่าเหล่านี้มากก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานด้วยว่าต้องการสเปคสูงมากน้อยแค่ไหน

4. ความเร็วในการประมวลผล (Clock Speed)

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ต้องการคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลได้รวดเร็วเพื่อให้ใช้งานได้ราบรื่น จึงควรคำนึงถึง Clock Speed หรือความเร็วในการประมวลผลของ Core ในการ์ดจอ ภายใน 1 วินาทีนั่นเอง โดยยิ่งค่านี้มีความเร็วในการประมวลผลมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้การแสดงผลไปยังจอภาพดียิ่งขึ้นเท่านั้น

5. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

การ์ดจอนับเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟเยอะมาก เราจึงควรเลือกซื้อโดยพิจารณาจากพาวเวอร์ซัพพลายที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ ในกรณีที่คอมพิวเตอร์มีการ์ดจอสเปคสูงที่ต้องใช้ไฟมาก ก็จำเป็นต้องเลือกพาเวอร์ซัพพลายที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการจ่ายกระแสไฟปริมาณมากได้อย่างเพียงพอ หากพาวเวอร์ซัพพลายไม่สามารถจ่ายกระแสไฟพอกับความต้องการ อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ 

ทำไมต้องซื้อการ์ดจอคอมพิวเตอร์กับ Compute And More?

เลือกซื้อการ์ดจอ (Graphic Card) กับ Compute And More ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมืออาชีพมานานกว่า 25 ปี มีบริการให้คำปรึกษา สามารถแนะนำการ์ดจอและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด ทั้งยังพร้อมด้วยสินค้าคุณภาพจากหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อได้ทุกชิ้นส่วน เพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ คุ้มค่า ราคาดี และตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบ

ขั้นตอนการเลือกซื้อก็สะดวก เพียงกดเลือกการ์ดจอหรืออุปกรณ์ที่ต้องการผ่านระบบบนหน้าเว็บไซต์ ก็สามารถซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์กับ Compute And More ตามสเปคที่ต้องการได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ยังบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ภายใน 1 - 4 วัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว