RAM (แรม) หรือ Random Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังส่งผลในการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วย หาก RAM มีความสามารถในการส่งถ่ายข้อมูลได้เร็วมากเท่าไร คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น โดย RAM จะประกอบไปด้วยพื้นที่ 4 ส่วน ดังนี้
หน้าที่ของ RAM คือรับชุดคำสั่งจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปยัง CPU เพื่อประมวลผล รวมถึงทำการเก็บชุดคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ ในขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน ทั้งรูปแบบของ Input และ Output โดยแรมคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะช่วงที่มีกระแสไฟฟ้าเข้าไปภายในวงจร หากไม่มีไฟฟ้าแล้ว ข้อมูลในหน่วยความจำก็จะหายไป จึงนับว่า RAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวนั่นเอง
แบรนด์ผู้ผลิต RAM ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ และเป็นที่นิยมในระดับโลก แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง INTEL และ AMD
Samsung บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากเกาหลีใต้ ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง จนมีเทคโนโลยี eNVM ที่เป็นหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน นับเป็นสิ่งที่ส่งผลให้ตลาด RAM ตื่นตัวขึ้นเป็นอย่างมาก
SK Hynix เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1983 นับเป็นอีกบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มาจากเกาหลีใต้ โดยสินค้าหลักชิ้นสำคัญนั้นคือชิป Memory ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทได้กว่า 90% จึงถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ Samsung ด้วยเช่นกัน
Micron ผู้ผลิตชิปจากสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1978 โดยปัจจุบันบริษัทนี้กำลังเป็นอีกคู่แข่งสำคัญ ในวงการผลิตหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
INTEL บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้นำด้านการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เจ้าแรก ๆ ที่ก่อตั้งมาเกินกว่าครึ่งทศวรรษ โดยมีผลิตภัณฑ์อย่างแรกเป็นส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ นั่นคือ RAM รุ่น 3101 Schottky Bipolar Random Access Memory
ในการเลือกซื้อ RAM หรือแรมคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้คอมประกอบสามารถทำงานได้อย่างดี ลื่นไหล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
ความจุของ RAM เป็นพื้นที่สำหรับการรับฝากข้อมูลในการทำงานและการประมวลผลของ CPU หากแรมคอมพิวเตอร์มีความจุซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้อย ส่งผลให้การส่งต่อหรือโอนย้ายข้อมูลทำได้ช้าลง นั่นก็หมายถึงประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์จะลดน้อยถอยลงได้
ในทางตรงกันข้าม หากเลือกซื้อแรมคอมพิวเตอร์ที่มีความจุมาก ซึ่งเพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ถือเป็นการช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งต่อข้อมูล และการทำงานที่เชื่อมกันระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังทำให้คอมประกอบเครื่องนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
ความเร็วบัสของ RAM หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า แรมบัส เป็นความเร็วที่ใช้ในการย้ายสัญญาณข้อมูล โดยส่งจากส่วนเก็บข้อมูลไปยัง CPU และสามารถกล่าวได้ว่า ยิ่งแรมมีค่าความเร็วบัสสูงเท่าไหร่ ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลก็มากขึ้นด้วย แต่ถ้ามีค่าความเร็วบัสต่ำ ความเร็วก็จะต่ำลงนั่นเอง
ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำไปประกอบคอมพิวเตอร์นั้น ไม่ใช่เพียงเลือกแต่รุ่นที่มีความเร็วบัสสูง ๆ เพราะอาจทำให้สูญเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ ต้องพิจารณาร่วมกันไปให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นสอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
DDR หรือ Double Data Rate RAM เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ ให้การรับส่งข้อมูลหรือชุดคำสั่งต่าง ๆ จากโปรแกรมไปยังหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วเพิ่มขึ้น ซึ่ง DDR พัฒนามาจาก SDRAM จึงทำได้แทบเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เพิ่มให้มีความสามารถในส่งข้อมูลได้ 2 ครั้ง ต่อ 1 ลูกสัญญาณ ทำให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีกเท่าตัว
ในปัจจุบัน DDR มีด้วยกัน 4 รุ่นคือ DDR, DDR2, DDR3 และ DDR4 แต่แรมรุ่นใหม่ ๆ นั้นส่วนใหญ่รองรับ DDR4 หมดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ซื้อมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องศึกษาให้ดีก่อน จะได้ไม่พลาดซื้อมาแล้วใช้ด้วยกันไม่ได้นั่นเอง
CAS Lantency หรือที่รู้จักกันในชื่อสั้น ๆ ว่า ค่า CL เป็นค่าความหน่วงเฉลี่ยในการเข้าถึงข้อมูลของแรม หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ค่า CL คือระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านข้อมูล และคงไม่มีใครอยากให้คอมพิวเตอร์ใช้เวลาในการอ่านข้อมูลมากอย่างแน่นอน เนื่องจากระยะเวลานั้นจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานด้วย
ดังนั้นยิ่งค่า CL ยิ่งน้อย คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็มีความหน่วงที่น้อย ส่งผลให้ทำงานได้ราบรื่นขึ้น โดยค่า CL จะมีหน่วยเป็น Clock Cycle (สัญญาณนาฬิกา) เช่น หากค่า CL เป็น 5 หมายถึงความหน่วงในการส่งข้อมูลคือ 5 สัญญาณนาฬิกา
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นต้องทำงานสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็น SSD Harddisk การ์ดจอ หรือ CPU ซึ่งรวมถึง RAM ด้วย ส่งผลให้การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นจำเป็นต้องจัดสเปคให้ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะเริ่มทำงานขั้นตอนแรกด้วยการส่งข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปยังแรม และจะสิ้นสุดรอบที่ซีพียู หากมีอุปกรณ์ใดบกพร่องไป ก็ส่งผลให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีประสิทธิภาพที่ต่ำลง
ดังนั้นหากต้องการคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเลือกซีพียูและแรมให้มีสเปคที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ไม่แตกต่างกันจนเกินไป เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งสองชิ้นได้ทำงานอย่างสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Channel คือช่องทางระหว่าง RAM และ CPU ที่ใช้สื่อสารกัน ซึ่งจะมีสัมพันธ์กันกับ Slot ซึ่งเป็นจำนวนช่องแรมเสียบที่อยู่บนเมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก โดย Channel จะมีหลัก ๆ 3 ประเภท ได้แก่ Single Channel, Dual Channel และ Quad Channel มีรายละเอียดดังนี้
Single Channel เรียกได้ง่าย ๆ ว่าแรม 1 แถว โดย Channel ประเภทนี้จะรองรับการเสียบได้เพียง 1 ช่องเท่านั้น เหมาะกับคนที่ต้องการใช้งานแบบทั่วไป ไม่ได้ต้องการคอมประกอบสเปคแรงมากนัก
Dual Channel เรียกได้ง่าย ๆ ว่าแรม 2 แถว ซึ่งเสียบได้มากที่สุด 2 ช่องทาง กล่าวคือหากมี Slot 1 - 2 ช่องก็สามารถเสียบใช้งานได้ตามปกติ แต่หากมี Slot 3 ช่องขึ้นไปก็จะใช้ไม่ได้นั่นเอง
ส่วน Quad Channel ก็เรียกได้ง่าย ๆ ว่าแรม 4 แถว หมายความว่าเสียบได้มากถึง 4 ช่องทาง โดยคนซื้อคอมประกอบส่วนใหญ่จะเลือกประเภทนี้ และซื้อ Slot เพียง 2 ช่องในเบื้องต้นก่อน หากอนาคตต้องอัปเกรดก็ทำได้สะดวกและคุ้มค่า
หากต้องการเลือกซื้อ RAM ให้เริ่มพิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก ว่าจะนำไปใช้งานทั่วไป ใช้ทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ หรือใช้สำหรับเล่นเกม เพื่อให้เลือกความจุได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมที่ Compute And More ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นมืออาชีพมานานกว่า 25 ปี มีบริการให้คำปรึกษา แนะนำแรม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด อีกทั้งยังพร้อมด้วยสินค้าคุณภาพ จากหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อได้ทุกชิ้นส่วน เพื่อให้ได้แรมคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ คุ้มค่า ราคาดี และตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบ
ขั้นตอนการเลือกซื้อก็สะดวก เพียงกดเลือก RAM หรืออุปกรณ์ที่ต้องการผ่านระบบบนเว็บไซต์ เพียงเท่านี้ก็สามารถซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์กับ Compute And More ในสเปคที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวมถึงมีบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ภายใน 1 - 4 วัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว