ภาษาไทย
Campaign

POWER SUPPLY (พาวเวอร์ซัพพลาย) คอมพิวเตอร์

POWER SUPPLY

Power Supply (พาวเวอร์ซัพพลาย) คืออะไร?

Power Supply หรือพาวเวอร์ซัพพลาย สามารถเรียกแบบเต็ม ๆ ได้ว่า Power Supply Unit (PSU) เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เปรียบได้กับกล่องสมบัติที่กักเก็บพลังงานไว้ภายใน แล้วส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานได้เป็นปกติ

โดยหน้าที่หลักของอุปกรณ์ชิ้นนี้ คือการจ่ายไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะแปลงกระแสไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ขนาด 220 V เป็นกระแสตรง (DC) สำหรับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 3V, 5V หรือ 12V ตามแต่ละชิ้นส่วน

พาวเวอร์ซัพพลายมีความสำคัญกับชิ้นส่วนอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก เพราะหากใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวม ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และในทางกลับกันหากใช้แบบที่ไม่มีคุณภาพ ก็อาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพการทำงานที่น้อยลงไปด้วย

ประเภทของ Power Supply (พาวเวอร์ซัพพลาย)

การจำแนกประเภทพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์สามารถทำได้โดยใช้เกณฑ์หลายแบบ หากจำแนกจากแหล่งจ่ายไฟ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ AT และ ATX  แต่ถ้าจำแนกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นนี้ โดยใช้เกณฑ์การถอดและต่อสายเคเบิล สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ FULL-Modular, SEMI-Modular และ NON-Modular โดยแต่ละประเภท มีรายละเอียดดังนี้

1. FULL-Modular

FULL-Modular เป็น Power Supply ที่ไม่มีสายเคเบิลติดอยู่กับตัวเครื่องเลย ทำให้สามารถถอดสายเข้าออกได้ทุกเส้น จึงมีข้อดีคือออกแบบเคสได้เองอย่างอิสระ ตามความต้องการและการใช้งาน ซึ่งเหมาะสำหรับ Modder นักแต่งเคส และหากเป็นผู้ใช้งานที่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้น จะช่วยให้การจัดเก็บสาย หรืออุปกรณ์ทำได้ง่ายขึ้น

2. SEMI-Modular

SEMI-Modular เป็น Power Supply ที่คล้ายกับประเภทแรก แต่มีช่องสำหรับเสียบสายได้แค่บางประเภท ส่วนสายไฟหลักที่ติดกับเครื่องมีลักษณะคล้ายกับแบบ NON-Modular ซึ่งมีช่องสำหรับเสียบเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องการเพิ่มฟังก์ชันเสริมต่าง ๆ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้อุปกรณ์เสริมไม่มาก เพราะสามารถเพิ่มสายเคเบิลได้อีกเล็กน้อยนั่นเอง

3. NON-Modular

NON-Modular เป็น Power Supply ที่มีสายเคเบิลหรือสายสำหรับการต่ออุปกรณ์ ติดตั้งอยู่กับเครื่องโดยตรง ไม่สามารถถอดเข้าออกหรือเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะไม่สะดวกสักเท่าไหร่ หากต้องการอัปเกรดหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริม แต่มีข้อดีคือราคาพาวเวอร์ซัพพลายประเภทนี้ ถูกกว่าประเภทอื่น ๆ จึงเหมาะมากสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด

มาตรฐาน 80 Plus ใน Power Supply คืออะไร?

ตามหลักวิศวกรรมแล้ว การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง ไม่มีทางได้ครบทั้ง 100% อย่างแน่นอน ดังนั้นมาตรฐาน 80 PLUS หรือ 80+ จึงเป็นเครื่องการันตีสำหรับการบ่งบอกประสิทธิภาพการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงการแปลงกระแสไฟฟ้า จากกระแสสลับเป็นกระแสตรงที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ 80% ขึ้นไป โดยแบ่งระดับมาตรฐานดังกล่าวเป็น 6 ระดับ ดังนี้

1. 80 Plus

มาตรฐาน 80 Plus อยู่ระดับสีขาว เป็น Power Supply ราคาถูกที่สุด จะต้องผ่านการทดสอบไฟฟ้า 115V Internal Nonredundant และ 230V EU Internal Nonredundant โดยการทดสอบ 115V Internal Nonredundant นั้น ไม่ว่าจะโหลดที่ 20% 50% หรือ 100% จะต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 80% จึงผ่านระดับนี้ได้

2. 80 Plus Bronze

มาตรฐาน 80 Plus Bronze เป็น Power Supply ระดับสีทองแดง ซึ่งผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 115V Internal Nonredundant, 230V Internal Redundant และ 230V EU Internal Nonredundant

โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้

  • โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 81% 
  • โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85% 
  • โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 81%

3. 80 Plus Silver

มาตรฐาน 80 Plus Silver เป็น Power Supply ระดับสีเงิน ต้องผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ

โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้

  • โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85% 
  • โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 89% 
  • โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85%

4. 80 Plus Gold

มาตรฐาน 80 Plus Gold เป็น Power Supply ระดับสีทอง จะผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ

โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้

  • โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 88% 
  • โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 92% 
  • โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 88%

5. 80 Plus Platinum

มาตรฐาน 80 Plus Platinum เป็น Power Supply ระดับสีแพลตทินั่ม ต้องผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้

  • โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 90% 
  • โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 94% 
  • โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 91%

6. 80 Plus Titanium

มาตรฐาน 80 Plus Titanium เป็น Power Supply ระดับไทเทเนี่ยม นับว่าเป็นตัวท็อปเลยทีเดียว ทำให้มีราคาสูงและผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผล 4 ส่วน ดังนี้

  • โหลดที่ 10% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 90%
  • โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 94% 
  • โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 96% 
  • โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 91%

ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อ Power Supply

ก่อนการเลือกพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์ ควรศึกษาข้อมูล เพื่อนำปัจจัยต่าง ๆ ไปพิจารณา และตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้ ให้ได้คุณภาพที่ดี มีมาตรฐาน เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีปัจจัยเบื้องต้น 4 ข้อ ดังนี้

1. แบรนด์ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ

ในการเลือกพาวเวอร์ซัพพลาย ปัจจัยแรกที่ควรนำมาพิจารณาคือความน่าเชื่อถือของแบรนด์ผู้ผลิต เนื่องจากการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียง นับเป็นการการันตีคุณภาพให้แล้วในระดับหนึ่ง อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมีบริการหลังการขายด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

โดยแบรนด์พาวเวอร์ซัพพลายที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับความนิยม มีด้วยกันหลายแบรนด์ เช่น ANTEC, ASUS, COOLER MASTER, CORSAIR, EVGA, GIGABYTE, LIAN-LI, MONTECH, MSI, NZXT, SILVERSTONE, SUPER FLOWER, THERMALTAKE และ ZALMAN

2. ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย

นอกจากการพิจารณาเบื้องต้นจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแล้ว การตัดสินใจซื้อพาวเวอร์ซัพพลายจากประเภทที่เหมาะกับการใช้งาน ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ช่วยให้การซื้อครั้งนั้น ๆ เกิดความคุ้มค่าและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หากมีอุปกรณ์เสริมแบบครบเซ็ตควรเลือก FULL-Modular เพื่อให้รองรับการเชื่อมสายเคเบิลได้ ถ้าไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดก็เลือกเป็นแบบ NON-Modular หรือหากที่มีงบประมาณจำกัด ก็เลือกแบบ AT ได้ด้วย แต่ถ้าต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายบางส่วนกับอุปกรณ์ ก็เลือกแบบ ATX ที่ออกแบบโดยพัฒนาจาก AT ให้ต่อไปยังเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้กระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนปิดเครื่อง

3. ขนาดความจุ

ในการเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงขนาดความจุของกำลังไฟ ต้องเลือกให้มีกำลังไฟที่เพียงพอสำหรับการจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีกำลังไฟไม่ต่ำกว่า 400 วัตต์ เพื่อให้สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีการอัปเกรด หรือมีอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานเป็นพิเศษ พาวเวอร์ซัพพลายที่กำลังไฟเพียง 400 วัตต์ก็อาจไม่เพียงพอกับอุปกรณ์เสริมเหล่านั้น ดังนั้นก่อนเลือกซื้อ จึงต้องคำนวณปริมาณอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมด้วย และอาจเผื่อการอัปเกรดในอนาคตด้วย เพื่อให้ประเมินขนาดกำลังไฟขั้นต่ำที่เพียงพอกับการใช้งาน

4. การระบายความร้อน

เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟ เพื่อส่งไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดความร้อนภายในขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องมีพัดลมระบายอากาศ เพื่อช่วยระบายความร้อน และลดอุณหภูมิด้านในเครื่อง เพราะหากอุณหภูมิภายในสูงเกินไป อาจส่งผลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เสียหายได้

ดังนั้นความสามารถในการระบายความร้อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ก่อนเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียหายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง โดยควรเลือกรุ่นที่ออกแบบมาให้ระบายความร้อนได้ดี เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 2-3 เครื่อง หรือการใช้พัดลมขนาดใหญ่ก็ช่วยได้เช่นกัน

ทำไมต้องซื้อพาวเวอร์ซัพพลายกับ Compute And More?

เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) กับ Compute And More ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นมืออาชีพมานานกว่า 25 ปี มีบริการให้คำปรึกษา แนะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด อีกทั้งยังพร้อมด้วยสินค้าคุณภาพ จากหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อได้ทุกชิ้นส่วน เพื่อให้ได้พาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ คุ้มค่า ราคาดี และตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบ

ขั้นตอนการเลือกซื้อก็สะดวก เพียงกดเลือกพาวเวอร์ซัพพลาย หรืออุปกรณ์ที่ต้องการผ่านระบบบนเว็บไซต์ เพียงเท่านี้ก็สามารถซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์กับ Compute And More ในสเปคที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวมถึงมีบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ภายใน 1 - 4 วัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว